วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
   ตำบลทุ่งมีหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ซึ่งมีประวัติอยู่ในหมายเหตุไชยา คำว่าทุ่งหรือทุ่งนาหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะสมัยศรีวิชัยหรืออยุธยารายได้เกือบทั้งหมดเป็นภาษีเลี้ยงประเทศส่วนใหญ่ก็มาจากการทำนา ตำบลทุ่งจึงเป็นเมืองที่รุ่งเรื่องในสมัยนั้น สถานที่ประวัติศาสตร์ที่ตำบลทุ่ง เช่นศาลาคงคาชัย วัดตะเคียน วัดจำปา และศาลาเชือด ตามจดหมายเหตุเมืองไชยาว่า หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเสียกรุงให้กับพม่าครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็กู้อิสรภาพได้โดยเร็ว โดยตีทัพพม่าแตกที่ค่ายบางกุ้ง แต่จะสร้างหรือบูรณะกรุงศรีอยุธยาต่อก็ลำบากเพราะพม่าเผาสิ้นซากจึงมาสร้างกรุงใหม่ชื่อว่ากรุงธนบุรีเจ้าเมืองต่างๆก็ชักจะแข็งเมืองรวมทั้งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้เสด็จยกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง จึงได้กรีฑาทัพผ่านตำบลทุ่งได้เห็นที่ทำเลสะดวกเหมาะสม มีน้ำสะดวกพระองค์และทหารจึงได้พักทัพที่ศาลาคงคาชัย ในระหว่างที่พักทัพพระองค์และทหารได้ไปนมัสการกราบพ่อท่านวัดตะเคียนของเราเป็นเจ้าอาวาสที่วัดตะเคียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
   องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษที่ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 โดยมีผลแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตำบลทุ่งตั้งอยู่เลขที่ 129 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยาประมาณ 5 กิโลเมตร ตำบลทุ่งมีเนื้อที่โดยประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 52,500ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.36 ของพื้นที่อำเภอไชยา (อำเภอไชยามีขนาดพื้นที่ประมาณ 1,222 ตารางกิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตั้งอยู่เลขที่ 129 หมู่ที่ 4 ถนนไชยา-ท่าชนะ (สายล่าง) ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ดังนี้
    ทิศเหนือ       ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ
    ทิศใต้          ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเลม็ดและเทศบาลตำบลตลาดไชยา
    ทิศตะวันตก    ติดต่อกับเทศบาลตำบลตลาดไชยา
    ทิศตะวันออก   ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ และเทศบาลตำบลพุมเรียง
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
   พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลทุ่ง เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาและเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่เกษตรกรรม ใช้เป็นที่ตั้งชุมชน ส่วนทางด้านตะวันออกของตำบลเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าคลองท่าเนียนและป่าชายเลนคลองพุมเรียง)
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
   ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง มีลักษณะแบบเมืองร้อนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ รวมทั้งมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีลักษณะภูมิอากาศ 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมไปถึงต้นเดือนพฤษภาคม
1.4 ลักษณะของดิน
   ลักษณะของดินโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ดินลูกรังและดินเหนียว เหมาะแก่การทำนาและปลูกพืชยืนต้น